วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


บทที่ 4 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


      อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ตั้งแต่ 233 MHz เป็นต้นไป
2. หน่วยความจำ (RAM) ไม่น้อยกว่า 8 MB
3. ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) มีขนาดความจุ ตั้งแต่ 100 MB ขึ้นไป
4. ดิสก์ไดร์ฟ ( Disk Drive ) ขนาด 1.44 MB
5. ซีดีไดร์ฟ ( CD Drive ) และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ลำโพง ไมโครโฟน เป็นต้น

2. โมเด็ม ( Modem )
โมเด็ม ( Modem ) หรือ Modulator-Demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล ( Digital ) จากเครื่อง คอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก ( Analog ) เพื่อส่งไปตามเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งเรียกว่า Modulate และแปลงสัญญาณ ข้อมูลแบบอนาล็อก ( Analog ) ที่มาจากเครือข่ายโทรศัพท์กลับเป็นสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล ( Digital ) เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า Demodulate โมเด็มเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ในการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยโมเด็มได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูง ปัจจุบันมีความเร็วสูงถึง 56 Kbps ( Kilobit per second )

ประเภทของโมเด็ม (Modem) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. โมเด็มแยกตามลักษณะการใช้งาน
2. โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสาร และความเร็วในการรับส่งข้อมูล

โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem)
     โมเด็มติดตั้งภายในนั้น เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้กระแสไฟในการทำงานจากแผงวงจรหลัก (Mainboard) ของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก

โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External Modem)
     เป็นโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก มีลักษณะโดยส่วนใหญ่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบน ประกอบด้วยแผงวงจรโมเด็ม ซึ่งมีไฟแสดงสถานะของการรับส่งข้อมูล กระแสไฟฟ้าในการทำงาน ได้จากภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมต่อนั้น จะทำการเชื่อมต่ออนุกรมแบ RS-232C ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่จะทำการติดตั้งที่จะทำการติดตั้งโมเด็มแบบภายนอกจะต้องพอร์ตนี้อยู่ และในปัจจุบันได้มีการนำพอร์ตแบบ USB (Universal Serial Bus) มาใช้สำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์ในรุ่นใหม่ๆ โมเด็มติดตั้งภายนอกมีราคาที่สูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน มีไฟแสดงสถานะของการทำงาน และมีสวิชท์ที่ใช้สำหรับเปิด-ปิด

3. โปรแกรม web browser ........ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ( Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูข้อมูลต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลในเว็บเพจ ถือได้ว่าเป็นเอกสารข้อมูล ที่ถูกเขียนด้วยภาษา HTML ทำหน้าที่ในการแสดงผลของข้อมูลเอกสาร อ่านข้อมูลที่ เป็นภาพ 2 มิติ 3 มิติ แสดงภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลเสียงและวีดีโอได้ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ยังสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การจัดหมวดหมู่ข้อมูลของเว็บไซต์ การแสดงผลข้อมูลผ่านทาง เครื่องพิมพ์

ยี่ห้อของ Browser

 อินเตอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเร่อ (Internet Explorer หรือ เรียกย่อว่า IE)
  เน็ทส์เคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator)
  โมซิลลา ไฟร์ฟ็อกซ์ (Mozilla Firefox หรือเรียกย่อว่า Firefox หรือ Mozilla) 

     คุณสมบัติทั่วไปของ Browser
ไม่ว่าจะเป็นบราวเซอร์ยี่ห้อไหนก็จะมีคำสั่งที่ปรากฏหน้าจอคล้ายกัน แต่มีสีสันและและการออกแบบ ที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ความสัมพันธ์ที่มีต่อ Search Engine เป็นสิ่งที่ จำเป็น เพราะบางบราวเซอร์จะแถม Search Engine ไว้ให้ที่หน้าจอก็มี ถึงอย่างก็ตามบราวเซอร์ ก็สามารถเข้าถึงเว็บใดเว็บหนึ่งโดยตรงก็ได้โดยไม่ต้องรอให้เครื่องต่อเข้า Search Engine เสียก่อน

 4. โทรศัพท์ (Telephone) ........ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องใช้สายโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อการเชื่อมโยง สัญญาณจากแหล่งให้บริการอินเตอร์เน็ต
 5. ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เนต (Account) ........ คือ Account จากองค์กรหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet service Provider : ISP)
 6. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ........ ได้แก่ ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรแกรม Browser และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 

1.โมเด็ม (Modem) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Fax modem

 

2. การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

 

3. เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน

 

. เราเตอร์ (Router) เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

 


5. บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย

 

6. รีพีตเตอร์ (Repeater) รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่ ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical 7. สายสัญญาณ เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ

   

          - สาย Coax มีลักษณะเป็นสายกลม คล้ายสายโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย

 

          - สาย UTP (Unshied Twisted Pair) เป็นสายสำหรับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45 สามารถส่งสัญญาณได้ไกล ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น คือ CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่ ในการใช้งานสายนี้ สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ
   
8. ฮับ (HUB) เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น การ์ดมีความเร็ว 100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้ แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น