วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 10 การดาวน์โหลดและการอัพโหลดไฟล์



บทที่ 10  การดาวน์โหลดและการอัพโหลดไฟล์

                      การดาวน์โหลดและการอัพโหลดไฟล์
1.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายโอนข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
          การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้Serverของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP
          การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 

1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
           การโอนถ่ายข้อมูลหรือเอฟทีพี (File Transfer Protocol - FTP) เป็นบริการหนึ่งของ อินเทอร์เน็ตหมายถึง การดึงไฟล์จากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของเรา โดยที่เราสามารถคัดลอก ถ่ายโอนข้อมูล รูปภาพ เสียง วิดีโอและโปรแกรมต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ตได้เอฟทีพีนี้เป็นวิธีการหลักในการส่งไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ลักษณะคือ
           การดาวน์โหลด (Download) หมายถึง การดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นต้นทางมาเก็บไว้ยังเครื่องของเรา โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           การอัพโหลด (Upload) หมายถึง การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไปเก็บไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกเครื่องที่ปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับดาวน์โหลด ประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลด
           ใน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถที่จะดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้สามารถจัดแบ่งประเภทของโปรมแกรมออกเป็น 4 ประเภท คือ 

แชร์แวร์ (Shareware)
           แชร์แวร์ (Shareware) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ ซึ่งผู้ผลิตโปรแกรมจะให้เราดาวน์โหลดโปรแกรมนี้มาทดลองใช้ โดยจะกำหนดระยะเวลาในการใช้งาน เช่น 30 วัน หรือ 60 วัน นับจากวันที่เราติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เมื่อครบตามระยะเวลาแล้วโปรแกรมนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้ หรือถ้าใช้งานได้โปรแกรมนี้จะไม่สมบูรณ์ รูปแบบของการใช้งานบางอย่างจะถูกระงับการใช้ เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งานในครั้งต่อไป โปรแกรมจะถามหมายเลขลงทะเบียน ซึ่งผู้ใช้พอจะเข้าใจในการทำงานของโปรแกรมก็สามารถทำการสั่งซื้อโปรแกรม เพื่อป้อนหมายเลขลงทะเบียนของโปรแกรมถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมซึ่งเป็นแชร์แวร์ ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโปรแกรมจริง ซึ่งมีคุณสมบัติที่สมบูรณ์ในการใช้งานได้ทันที

เดโมแวร์ (Demoware) 
           เดโมแวร์ (Demoware) คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ มีลักษณะคล้ายกับโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ แต้ถูกจำกัดขอบเขตของการใช้งาน ซึ่งโปรแกรมรูปแบบเต็มอาจจะมีเมนูสำหรับการใช้งาน 5 เมนแต่โปรแกรมเดโมแวร์นั้นอาจจะเปิดให้เราสามารถใช้งานได้เพียง 2 เมนู เป็นการให้ทดลองใช้เพียงบางส่วนของโปรแกรม แต่ลักษณะของโปรแกรมแชร์แวร์นั้นจะให้เราสามารถใช้งานได้ครบทุกส่วนของ โปรแกรมแต่กำหนดระยะเวลาการทดลองใช้งาน ซึ่งถ้าเราต้องการจะใช้งานจริงของโปรแกรมประเภทนี้จะต้องสั่งซื้อโปรแกรม จากผู้ผลิตต่อไป

โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software) 
            โปรแกรมรุ่นเบต้า (Beta Software) บางครั้งอาจจะเรียกว่า โปรอกรมรุ่นอัลฟา (Alfa Software) ซึ่ง ในรูปแบบนี้ จะเป็นโปรแกรมรุ่นที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ผู้ผลิตโปรแกรมมักจะนำโปรแกรมที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้มาใช้งาน และเมื่อมีปัญหาใดในการใช้งาน ก็ให้ผู้ใช้แจ้งกลับไปยังผู้ผลิตเพื่อนำไปปรับปรุงโปรแกรมต่อไป ซึ่งเปรียบเสมือนให้ผู้ใช้โปรแกรมเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม โปรแกรมลักษณะนี้เมื่อเราดาวน์โหลดมาใช้งานแล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการใช้ งานมากมาย หรือบางครั้งนำมาติตั้งเพื่องานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่สามารถลบออก จากหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะนำโปรแกรมเหล่านี้มาใช้งาน

โปรแกรมฟรี (Freeware) 
           บน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมมากมายที่ให้บริการฟรี ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ หรือบางเว็บไซต์ก็จะเป็นตัวกลางที่ช่วยรวบรวมโปรแกรมฟรีเหล่านี้มาไว้ให้ผู้ ใช้ได้ดาวน์โหลดได้ง่ายขึ้นซึ่งโปรแกรมฟรีเหล่านี้อาจจะมีคุณสมบัติในการทำ งานได้ดีเช่นเดียวกับเป็นโปรแกรมที่มีการซื้อขาทั่วไป

ขั้นตอนในการดาวน์โหลด
สามารถจัดแบ่งรูปแบบของการดาวน์โหลดข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การดาวน์โหลดไฟล์ 
 1.คลิกFREEจะมีข้อความ รอสักครู่
 2.คลิกDownloadingรอสักครู่
 3.บันทึกไฟล์
2. การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพ 
การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพสามารถทำได้หลายกรณี เช่น บันทึกเป็นไฟล์ชนิดรูปภาพ บันทึกเป็นภาพ Background บันทึกเป็นภาพ Desktop Item เป็นต้น

วิธีการบันทึกรูปภาพสามารถทำตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 
1. เมื่อเราคลิกรูปภาพแล้วปรากฏสัญลักษณ์นี้< แสดงว่าเราสามารถบันทึกได้
2. หรือว่าเมื่อเราคลิกรูปภาพ Mouse ด้านขาวมือ จะปรากฏเมนูขึ้น ให้เลือกที่ Save Picture As:
3. จะปรากฏหน้าต่าง Save Picture เพื่อกำหนด Drive และไฟลเดอร์ที่ Save in เพื่อบอกตำแหน่งที่ต้องการบันทึกรูปภาพ
4. กำหนดชื่อของรูปภาพ
5. Save as type: คือนามสกุลของรูปภาพ
6. เมื่อต้องการำรูปภาพไปเป็นภาพ Background บนหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกที่ Set as Background
7. เมื่อเลือก Set as Desktop Item… จะปรากฏข้อความเพื่อถามความแน่ใจ เพื่อทำรูปภาพเป็น Ihe Active Desktop ที่ปรากฏบนหน้าจอ Desktop
8. เมื่อเลือกที่ E-mail picture จะเป็นการส่งรูปภาพต่อไปให้เพื่อนทางอีเมล เพื่อทำให้การส่งรูปภาพได้รวดเร็วขึ้น โดยคลิกที่ Make all my picture smaller
9. แต่ถ้าต้องการให้รูปภาพมีขนาดเท่ากับขนาดของภาพจริง ให้คลิกที่ keep the originals sizes โดยจะปรากฏหน้าต่าง Send picture via E-mail
10. จะปรากฏหน้าต่างเพื่อให้กำหนดที่อยู่ของผู้รับ เพื่อส่งอีเมลได้ทันที

2.ความหมายของการ Down Load และ Up Load 
           การดาวน์โหลด (Download) หมายถึง การดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นต้นทางมาเก็บไว้ยังเครื่องของเรา โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           การอัพโหลด (Upload) หมายถึง การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไปเก็บไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับดาวน์โหลด

3.ประเภทของแฟ้มข้อมูล 
           ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
           1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
            2. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น การเพิ่มรายการ (Add record) การลบรายการ (Delete record) และการแก้ไขรายการ (Edit)

 การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล (File organization) มีวิธีการจัดได้หลายประเภท เช่น 
           1. การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตามลำดับ (Sequential File organization) ลักษณะการจัดข้อมูลรายการจะเรียงตามฟิลด์ที่กำหนด (Key field) เช่น เรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร โดยส่วนมากมักจะใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลซึ่งการเก็บโดยวิธีนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
           2. การจัดระเบียนแฟ้มข้อมูลแบบตรงหรือแบบสุ่ม (Direct or random file organization) โดยส่วนมากมักจะใช้จานแม่เหล็ก (Hard disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูล การบันทึกหรือการเรียกข้อมูลขึ้นมาสามารถเรียกได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านรายการอื่นก่อน เราเรียกวิธีนี้ว่าการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct access) หรือการเข้าถึงโดยการสุ่ม (Random Access) การค้นหาข้อมูลโดยวิธีนี้จะเร็วกว่าแบบตามลำดับ ทั้งนี้เพราะการค้นหาจะกำหนดดัชนี (Index) จะนั้นจะวิ่งไปหาข้อมูลที่ต้องการหรืออาจจะเข้าหาข้อมูลแบบอาศัยดัชนีและเรียงลำดับควบคู่กัน (Indexed Sequential Access Method (ISAM) โดยวิธีนี้จะกำหนดดัชนีที่ต้องการค้นหาข้อมูล เมื่อพบแล้วต้องการเอาข้อมูลมาอีกกี่ รายการก็ให้เรียงตามลำดับของรายการที่ต้องการ ซึ่งการเก็บโดยวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
           อุปสรรคในการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบดั้งเดิม (Traditional or Conventional file) คือ หน่วยสำรองข้อมูล (Storage) จะมีแฟ้มข้อมูลหลักอยู่และในแฟ้มข้อมูลหลัก (Master file) จะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ (Data Element) เช่น A-Z แต่ละแผนกก็จะต้องเขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application Program) ของงานตนเองขึ้นมา ซึ่งแต่ละงานอาจจะมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน แสดงการใช้แฟ้มข้อมูลแบบดั้งเดิม
           การจัดการแฟ้มข้อมูล (File Management) ในอดีตข้อมูลที่จัดเก็บไว้จะอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอิสระ (Conventional File) ซึ่งระบบงานแต่ละระบบก็จะสร้างแฟ้มของตนเองขึ้นมาโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น ระบบบัญชี ที่สร้างแฟ้มข้อมูลของตนเอง ระบบพัสดุคงคลัง (Inventory) ระบบการจ่ายเงินเดือน(Payroll) ระบบออกบิล (Billing) และระบบอื่นๆต่างก็มีแฟ้มข้อมูลเป็นของตนเอง หากมีการปรับปรุงแก้ไขก็จะทำเฉพาะส่วนจึงทำข้อมูลขององค์การ บางครั้งเกิดสับสนเนื่องจากข้อมูลขัดแย้งกันและในบางองค์การอาจจะมีการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาที่เขียนที่ต่างกัน เช่นภาษาโคบอล (COBOL language) ภาษาอาร์พีจี(RPG) ภาษาปาสคาล (PASCAL) หรือภาษาซี (C language) ซึ่งมีลักษณะของแฟ้มข้อมูลที่สร้างด้วยภาษาที่ต่างกันก็ไม่สามารถจะใช้งานร่วมกันได้ จึงทำให้องค์การเกิดการสูญเสียในข้อมูล ดังนั้นก่อนที่องค์การจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้จะต้องมีการวางแผนถึงระบบการบริหารแฟ้มข้อมูล การแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลและการจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล
          การบริหารแฟ้มข้อมูลจะต้องมีการกำหนดโปรแกรมที่จะพัฒนาขึ้นมาว่าจะใช้ภาษาอะไร มีหน่วยงานใดต้องใช้ ต้องการข้อมูลอะไร ข้อมูลที่แต่ละแผนกต้องการซ้ำกันหรือไม่ หรือมีข้อมูลอะไรที่ขาดหายไปและข้อมูลฟิลด์ไหนที่จะใช้เป็นคีย์ในการค้นหาข้อมูล เช่น การสร้างแฟ้มประวัติลูกค้า 

ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ   
            1.แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
           2.แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

 4.ประเภทของซอฟต์แวร์ที่ให้การดาวน์โหลด 
               
           1.ฟรีแวร์ ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
            2.แชร์แวร์ (Shareware) แชร์แวร์ คือ โปรแกรมที่ถูกจำกัดความสามารถไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้โปรแกรม โดยหากสนใจใช้โปรแกรมอย่างครบทุกความสามารถ จึงจ่ายเงินเป็นค่าลงทะเบียนให้ผู้พัฒนาโปรแกรม ประโยชน์ของการขายโปรแกรมด้วยวิธีนี้คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินก็สามารถใช้โปรแกรมได้ และยังได้สร้างความคุ้นเคยในการใช้งานให้ผู้ใช้ด้วย รวมถึงเป็นการแนะนำสินค้าที่ดีวิธีหนึ่ง ส่วนความสำเร็จของผู้เขียนโปรแกรมแชร์แวร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้ที่ทดลองใช้โปรแกรมไปแล้วตัดสินใจลงทะเบียน 

5.โปรแกรมที่ใช้สำหรับการดาวน์โหลด 


           1. Flashgetไม่ต้องสงสัยอะไรเลยเกี่ยวกับโปรแกรมตัวนี้ Flashget เป็นโปรแกรมที่ประสิทธิภาพสูงตัวนึงและมีประวัติที่ยาวนานนับสิบปี นับตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกที่ใช้ชื่อว่า Jetcar เป็นโปรแกรมช่วยดาวน์โหลดที่ทำให้ชีวิตการใช้อินเตอร์เน็ตแบบ 56K ของเราในสมัยนั้นดีขึ้นกว่าเดิมมากและเป็นโปรแกรมที่ทำให้ดาวน์โหลดไวขึ้นถึงสิบเท่าเพราะการแยกส่วนเป็นโปรแกรมแรกๆ ถึงปัจจุบันจะดูเนิบนาบแต่ก็เป็นโปรแกรมที่ผมยังใช้ติดเครื่องอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญมันใช้งานได้ฟรีโปรแกรมตัวนี้ฟีเจอร์อาจดูไม่โดดเด่นมาก แต่สำหรับผมการใช้มันควบคู่กับ Flashgot บน Firefox แค่นี้ก็เพียงพอและทำได้แทบทุกอย่างแล้ว

 
       
 2. DownThemAll! อันนี้อาจจะมีข้อจำกัดไปนิดนึงเพราะว่ามันเป็น Firefox Extension แต่ก็เป็นโปรแกรมตัวนึงที่ใช้งานได้ง่ายมากและติดมากับตัว Firefox เลย เหมาะกับการดาวน์โหลดแบบไม่ซีเรียสมากมายเนื่องจากมันผูกกับโปรเซสของ Firefox เวลามันอืดแล้วอาจทำให้น่าหงุดหงิดได้ แต่ก็เป็นโปรแกรมอีกตัวที่กะทัดรัดและน่าโหลดมาใช้หากไม่อยากติดตั้งโปรแกรมแยกต่างหาก

 

         3. JDownloader ตัวนี้เป็นโปรแกรมช่วยดาวน์โหลดเฉพาะของสำหรับสาวกนักโหลดไฟล์ตามเว็บฝากไฟล์ต่างๆ เพราะโปรแกรมตัวนี้รองรับการทำงานของเว็บฝากไฟล์ดังๆ แทบทุกเว็บ ปัญหาเรื่องการรอกดดาวน์โหลด การใส่ captcha ก็จะหมดไปเนื่องจากตัวนี้จะถอดรหัสให้หมด (แต่บางเว็บก็ต้องใส่เองนะจ๊ะ) ที่สำคัญสามารถเช็คได้ว่าไฟล์ไหนโหลดได้หรือไม่ได้อีกต่างหาก และสามารถสั่งแตกไฟล์เองเมื่อโหลดครบหรือสั่งปิดเครื่องก็ยังได้ ข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่นึกออกคือ โปรแกรมตัวนี้ค่อนข้างช้าในเรื่องของการทำงาน

 

          4. Orbit Downloader สำหรับคนชอบโหลดไฟล์วิดีโอไม่ว่าจะจากโปรโตคอลไหนๆ หรือเว็บอะไรตัวนี้เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมากตัวนึงเพราะฟีเจอร์การดาวน์โหลดที่บอกไปข้างต้นคือตัวชูโรงของโปรแกรมตัวนี้ รองรับโปรโตคอลเยอะมาก (HTTP, RTSP, MMP, RTMP, ETC.) เรียกว่าคุณดูหนังผ่านตัวไหนตัวนี้โหลดได้แทบหมดทุกตัวจริงๆ และดาวน์โหลดอะไรที่ streaming มาได้เกือบทั้งหมด ใครชอบด้านนี้ลองดูครับ เบาเครื่องด้วยนะเออ

 

          5. MDownloader สำหรับคนที่อาจรับไม่ได้กับความอืดของ JDownloader ตัวนี้อาจเป็นคำตอบสำหรับคุณ แต่ฟีเจอร์มันก็น้อยลงเช่นกันโดยรองรับเพียงไม่กี่เว็บในตอนนี้ แต่ก็เป็นโปรแกรมช่วยดาวน์โหลดอีกตัวที่กำลังมาแรงและน่าจะพัฒนาได้ไปอีกไกลในอนาคต

7.ข้อแนะนำในการดาวน์โหลดข้อมูล 
           สำหรับผู้ที่จะทำการดาวน์โหลดแบบพิมพ์ จำเป็นจะต้องทำการติดตั้งโปรแกรม Adobe Reader ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน โดยสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้จาก Link ด้านล่างนี้ Acrobat Reader 9.0.0 (สำหรับ Microsoft Windows XP ขึ้นไป และสามารถใช้ในการป้อนข้อมูลด้วยภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ)
           Acrobat Reader 7.0.5 (สำหรับ Microsoft Windows XP ขึ้นไป )
ถ้าหากท่านใดต้องการจะเข้าไป Download เองจากเว็บไซต์ของ Adobe โดยตรงสามารถเข้าไป Download ได้ที่ http://www.adobe.com/products/acrobat/readstep2_allversions.htmlหรือ http://www.adobe.com ขอแนะนำให้ใช้ Adobe Reader เวอร์ชั่น 5.0.5 ขึ้นไป กรณีที่ในเครื่องที่ใช้งานมีการติดตั้ง Adobe Acrobat Professional อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Adobe Reader เพิ่มอีก สำหรับโปรแกรม Adobe Acrobat Professional ไม่สามารถนำมาให้ทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์ Download ไปได้เนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
โปรแกรม Adobe Reader มีขีดความสามารถดังนี้ 
- สามารถแสดงผลไฟล์นามสกุล .pdf และสามารถป้อนข้อมูลลงในช่องว่างที่กำหนดไว้ให้ได้
- สามารถสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้
- ไม่สามารถบันทึก (Save) ข้อมูลที่ป้อนลงในช่องว่างเก็บไว้ได้ ทำได้ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Professional
           ถ้าหากท่านใดที่ติดตั้ง Adobe Reader เวอร์ชั่นล่าสุดลงไปแล้ว แต่ยังติดปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยลงในแบบพิมพ์ หรือ ป้อนข้อมูลที่เป็นภาษาไทยลงในช่องว่างไม่ได้เลยให้ลองตรวจสอบตามขั้นตอนดังนี้ คลิกเมนู Help -> Check for updates now… -> จากนั้นโปรแกรมจะเช็คว่าได้ติดตั้ง Multilanguage Support แล้วหรือยังถ้ายังให้ทำการ Update เข้าไปด้วย โดยทำตามขั้นตอนของโปรแกรมต่อไป

ตัวอย่างการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ 
1. พิมพ์ URL ลงในช่อง Location : http://www.sharware.com/
2. เลื่อนเมาส์เพื่อค้นหาไฟล์ที่ต้องการ หรือสามารถใช้วิธีการค้นหาได้จากการพิมพ์ชื่อไฟล์ หรือชื่อซอฟต์แวร์ลงไป แล้วคลิก Search
3. คลิกเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการ
4. เว็บเพจของซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ให้สังเกตคำว่า Downlod Now
5. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างให้บันทึกชื่อไฟล์ที่ต้องการบันทึก
6. คลิก Save
7. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างสถานะของการดาวน์โหลดไฟล์ จะต้องรอให้ครบ 100%
8. หลังจากที่ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยโดยไม่มีปัญหาอะไร จึงจะสามารถเรียกใช้ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาได้ทันที
 2.การอัพโหลด 
           การโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อผู้ใช้ไปยังผู้ให้บริการ ซึ้งการใช้งานก็ตรงกันข้ามกับดาวโหลด แต่แตกต่างกัน - ไฟล์ข้อความ (Text File)คือ อะไร
          เป็นไฟล์ที่แพร่หลายมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต โดยจะบรรจุข้อความตัวอักษรภาษาต่างๆ เช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น ไทย และอื่นๆ เป็นต้น ปัจจุบันเวิลด์ไวด์เว็บนิยมใช้ไฟล์ข้อความมาก เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อีเมล์ เป็นต้น การสังเกตไฟล์ข้อความดูได้จากนามสกุล คือ .txt , .doc , .html เป็นต้น การดึงไฟล์ข้อความจากอินเทอร์เน็ตทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย เพราะมีใหญ่มาก
- ไฟล์เสียง (sound) เป็นไฟล์ลักษณะของเสียง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
- ไฟล์ภาพ
ประเภทของไฟล์ภาพที่ควรจะพบเมื่อใช้วินโดวส์ 98 มีดัง BMP (Bitmap) ไฟล์ภาพประเภทที่เก็บจุของภาพแบบจุดต่อจุดตรงๆ เรียกว่าไฟล์แบบ บิตแมพ( Bitmap ) ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่แต่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเก็บแบบ Bitmap ใช้เนื้อที่ในการเก็บจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีการเก็บภาพให้มีขนาดเล็กลงโดยยังคงสามารถเภาพได้เช่นเดิม ขึ้นมาหลายวิธีการ เช่น JPEG และ GIF
           JPEG ( Joint Graphics Expert Group ) เป็นการเก็บไฟล์ภาพแบบที่บีบอัด สามารถทำภาพ ให้มีขนาดของไฟล์ภาพเล็กกว่าแบบ Bitmap หลายสิบเท่า แต่เหมาะจะใช้กับภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่เหมาะกับการเก็บภาพเหมือนจริง เช่น ภาพการ์ตูน เป็นต้น
           GIF เป็นวิธีการเก็บไฟล์ภาพแบบบีบอัดคล้ายกับ JPEG โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเก็บภาพที่ถ่ายจากธรรมชาติได้มีขนาดเล็กเท่ากับแบบ JPEG แต่สามารถเก็บภาพที่ไม่ใช่ภาพถ่ายจากธรรมชาติเช่น ภาพการ์ตูน ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ GIF ยังสามารถเก็บภาพไว้ได้หลายๆภาพ ในไฟล์เดียว จึงถูกนำไปใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ เช่น ในอินเตอร์เน็ต
           TIFF ( Tagged Image File Format )คือการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะเดียวกับไฟล์แบบ BMP แต่ในไฟล์มี Tagged File ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยโปรแกรมควบคุมการแสดงภาพ เช่น การแสดงหรือไม่ แสดงภาพบางส่วนได้ ภาพที่เก็บไว้ในลักษณะของ TIFF จึงมีความพิเศษกว่าการเก็บแบบอื่นที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังมีไฟล์ภาพแบบต่างๆ อีกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป

-ไฟล์วีดีโอ เป็นข้อมูลที่ผสมกันระหว่างไฟล์ภาพและไฟล์เสียง
-ไฟล์โปรแกรม เป็นโปรกรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองการใช้

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 9 การสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



บทที่ 9 การสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต




 

 การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นระบบขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆมากมายที่จะให้เราไปทำการ สืบค้นเพื่อนำมาใช้งาน ซึ่งข้อมูลนั้นได้มาจากการจัดทำด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ให้บริการผ่านจอคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จุดใดๆ ก็ได้ จากการใช้โปรแกรมอ่านเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ต หรือบราวเซอร์นั่นเอง สิ่งจำเป็นในการสืบค้นหาข้อมูล

 1. ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการค้น ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถติดต่อได้กับคนทั่วโลกอย่างไม่มีขอบ เขต สามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศต่าง ๆ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับก็มีอยู่มากมาย ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลจำเป็นต้องเรียนรู้การเลือกข้อมูล ให้ได้ตรงกับความต้องการ ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ให้ บริการข้อมูล นั่นก็คือ ทราบ Url หรือ Address ของผู้ให้บริการข้อมูลนั่นเอง 
 2. รู้จักวิธีการค้นข้อมูล 
 3. รู้จักวิธีการอ่านผลการสืบค้น หลัง จากที่ได้เริ่มต้นทำการพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา หรือ เลือกรายการหมวดหมู่เมนูการค้น ผู้ค้นข้อมูลจะต้องติดตามผลการค้นจนกว่าจะได้ข้อมูลครบตามที่ต้องการ สำหรับ ผู้ให้บริการค้นข้อมูลก็จะต้องอำนวยความสะดวก ทั้งการจัดทำหน้าจอสำหรับการ สืบค้น และการจัดลำดับหัวข้อเรื่องให้กับผู้ใช้บริการด้วย 
4. รู้จักวิธีการจัดเก็บผลการสืบค้น 
5. รู้วิธีการเผยแพร่การสืบค้น 

วิธีการสืบค้นข้อมูล สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้ 
1. การค้นหาข้อมูลโดยการใช้คำค้นหา วิธีนี้เหมาะกับการหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงเนื้อหา โดยการพิมพ์คำหรือข้อความที่ต้องการค้นส่งไปในช่องสำหรับค้นหา
2. การค้นหาข้อมูลจากรายการข้อมูลที่จัดทำเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว วิธีนี้เหมาะกับการค้นหาข้อมูลที่เป็นหมวดใหญ่ ๆ หรือการค้นหาแบบกว้าง ๆ ไม่เจา 

ประเภทการสืบค้นข้อมูล 

 เนื่องจากภายในอินเทอร์เน็ต มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีผู้ที่รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ ที่จะง่ายต่อการค้นหา ซึ่งเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่นี้ คือ เว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Engines) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

      Search Engines เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ (Robot) ในการค้นหา และรวบรวมข้อมูล ของเว็บไซต์ต่างๆ เว็บไซต์ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการค้นหา ข้อมูล แบบจำเพาะเจาะจง ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล โดยใช้เว็บประเภท โดยใช้เว็บไซต์ ซึ่งทำได้โดยคลิกเมาส์เลือกชื่อของหมวดหมู่เว็บที่น่าสนใจ จากนั้นชื่อเว็บที่ต้องการก็จะปรากฏขึ้น 
      Search Directories เป็นเว็บไซต์ที่ทำการค้นหาข้อมูล โดยมีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลที่เหมาะสมแต่ก็มีข้อจำกัด คือ ปริมาณข้อมูลอาจจะไม่ครอบคลุมทุกเว็บไซต์ เว็บไซต์ข้อมูลประเภทนี้เหมาะสม กับการค้นหาข้อมูลที่เป็นหมวดใหญ่ ๆ ลักษณะการค้นหาข้อมูลของ Search โดยทั่วไป Search Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ 

1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมาย ถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com, www.lycos.com, www.sanook.com, www.siamguru.com เป็นต้น ตัวอย่าง การค้นแบบนามานุกรม ของ www.sanook.com รายการกลุ่มเรื่องแบ่งออกเป็น หมวดหมู่ใหญ่ 14 หมวดหมู่ เช่น กีฬา ท่องเที่ยว อินเทอร์เน็ต ฯลฯ การแบ่งกลุ่มเรื่องย่อยๆ ของแต่ละกลุ่มและแบ่งย่อย ลงเรื่อยๆจนกระทั่งระบุ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง 

2. การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนี ค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ นามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การ ใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร ตัวอย่าง การค้นหาแบบดรรชนี โดยใช้คำสำคัญ 
1. ระบุคำ เรื่องที่ต้องการค้นในเว็บไซต์ที่เป็น search engine เช่น ดาวอังคาร 1. ระบุคำค้นลงในช่องสืบค้น 
2. จะปรากฏจำนวนรายการข้อมูลที่ค้นพบ และโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่ต้องการ 
3. แหล่งข้อมูลที่ค้นพบ 

3. การค้นหาแบบ Met search Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 8 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อสื่อสาร



บทที่ 8 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อสื่อสาร


           ความหมายและประโยชน์ของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 


          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ (Electronic Mail - Email)เป็นวิธีติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดาจนถึงการส่งเอกสารแบบมัลติมีเดียมีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า e-mail Address คล้ายๆ กับชื่อ – นามสกุล และที่อยู่นั่นเองปัจจุบันเราสามารถมีอีเมล์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว จากเว็บไซต์ที่ให้บริการรับ-ส่งอีเมล์ที่เรียกว่า ฟรีอีเมล์ (Free-Email) ซึ่งมีบริการให้เลือกมากมายทั้งไทยและต่างประเทศ

อีเมล์จึงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ดังนี้ 

 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับอีเมล์ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกทันที
2. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์ จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง
3. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ทีละคน
4. ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา
5. ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก ซึ่งจะทำให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับ มีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่าน จดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน
6. สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสาร เป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
บริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป ให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูล
กันได้อย่างรวดเร็วคือ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ความหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
        E-mail ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ 
แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง

จุดเด่นของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
จุดเด่นที่ทำให้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งจดหมาย
ด้วยกระดาษธรรมดาหรือไปรษณีย์ธรรมดา ๆ แล้ว การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ดูเหมือนจะยุ่งยากและมีวิธีการใช้สลับ
ซับซ้อนกว่า แต่ถ้าหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ยุ่งยากแต่ประการใด โดยเฉพาะในปัจจุบัน 
โปรแกรมที่ใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างสะดวก ไม่ซับซ้อน และที่สำคัญ ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์มีจุดเด่นกว่าไปรษณีย์ธรรมดาหลายประการ ดังนี้ 
 1.ความรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้รวดเร็วมาก เช่น เราสามารถ
ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จากประเทศไทยไปยังผู้รับที่อยู่ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใน 1-5นาทีเท่านั้นเอง ถ้าส่งไปรษณีย์
ด่วน EMS อย่างเร็วที่สุดต้องใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยกับความเร็บของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
 2.ความประหยัด ค่าใช้จ่ายในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจดหมาย
ธรรมดา ปกติถ้าเราส่งจดหมายธรรมดาต้องซื้อซอง ซื้อกระดาษ ซื้อแสตมป์ ค่าลงทะเบียนจดหมายด่วน EMS ยิ่งถ้าส่งไป
ต่างประเทศก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และถ้าส่งเดือนละหลายฉบับ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ค่าใช้จ่ายไม่แพง มีเพียงค่าโทรศัพท์และค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนที่เราใช้กันอยู่เท่า นั้น
 3.ไม่จำกัดระยะทาง ระยะทางเป็นข้อจำกัดสำคัญในการติดต่อสื่อสารกัน เราไม่ต้องเดินไปที่ที่ทำการไปรษณีย์
หรือตู้ไปรษณีย์เพื่อส่งจดหมาย เราสามารถนั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน พิมพ์และส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องเดิน
ทางไปไหนเลย

ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail Address) 
 ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของ
ตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน 
         ส่วนประกอบของที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ
 ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    antz2003_ja@hotmail.com
 1.ส่วนที่ 1 คือ ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อองค์กร หรือชื่ออะไรก็ได้ 
ตามตัวอย่างคือ Antz2003_ja 
 2.ส่วนที่ 2 คือ เครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า แอท
 3.ส่วนที่ 3 คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ 
เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุด ตามตัวอย่างคือ  hotmail.com

มารยาทในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
ปัญหา ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติ
 1.กรณี ที่อยู่บ้านและใช้โทรศัพท์ธรรมดา ไม่ควรใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะทำให้ขาดการติดต่อ
กันทางโทรศัพท์ซึ่งอาจมีเรื่องสำคัญ จำเป็น ก็ได้  และไม่ควรตั้งระบบโทรศัพท์เป็นระบบสายเรียกซ้อน  ซึ่งจะทำให้การติดต่อ
อินเตอร์เน็ตหลุดบ่อย ๆ
 2.การใช้งานบราวเซอร์โดยการเปิดวินโดว์ใหม่(New Windows) อาจทำให้ความเร็วในการติดต่อ
กับอินเทอร์เน็ตช้าลง หรือเครื่องแฮงค์ไปเลย
 3.การติดต่อไปยัง URL ใหม่ ควร Stop การติดต่อ URL เก่าเสียก่อน จะทำให้ความเร็วในการ
ติดต่อไม่ตก

จริยธรรมและมารยาทในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับการเขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์ นั่นคือเรา
ไม่สามารถแสดงสีหน้า ท่าทาง หรือความรู้สึกให้ผู้รับทราบได้ ดังนั้นผู้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงควรมีมารยาทที่ดีหรือข้อ
พึงปฏิบัติดังนี้ 
 1.เขียน ชื่อที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับให้ชัดเจน ก่อนจะส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องตรวจ
สอบชื่อและที่อยู่ของผู้รับ ให้แน่ใจ เพื่อจะได้ส่งไม่ผิดคน เพราะบางครั้งอาจเป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการนัด
หมายหรือการอวย พรเนื่องในวันเกิด หรืองานสำคัญอื่น ๆ ถ้าเราส่งผิด ไม่ถึงผู้รับ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
 2.อ่านข้อความให้ดีก่อนส่ง ต้องตรวจดูข้อความให้ละเอียดทุกข้อความว่า เขียนได้กระชับ รัดกุม 
ถ้อยคำเหมาะสมชัดเจน ไม่ควรสะกดคำผิด เขียนผิดไวยกรณ์ หรือเขียนเชิงภาษาพูด เพราะอาจทำให้คนรับอ่านแล้วเข้า
ใจเนื้อหาผิดไปได้
 3.ใส่หัวเรื่อง (Subject) ให้เรียบร้อยทุกครั้ง เพื่อให้ผู้รับทราบว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นๆ 
เขียนด้วยเรื่องอะไร เพื่อให้ผู้รับจะได้คัดเลือกอ่านตามความสำคัญ
 4.การตอบกลับ ปกติเราควรตอบกลับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกฉบับ เพื่อสื่สารกับผู้ส่ง และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
นานเกินไป ถ้าเราได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ควรอ่านและตอบกลับภายในเวลา 1-2 วัน แต่บางครั้ง ถ้ามีไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์มาก ๆ เราควรพิจารณาดูจากหัวเรื่องว่าฉบับไหนสำคัญมากหรือน้อย แล้วจัดตอมตามลำดับ แต่ถ้าเป็นเรื่อง
ธุรกิจการค้าขาย ควรตอบกับทันที ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งเป็นประโยชน์มากเท่านั้น
 5.ไม่ควรตอบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยาวเกินไป เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีค่าใช้จ่าย เพราะค่าบริ
การการใช้อินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง การเขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยาวๆ ต้องใช้เวลาในการเรียกข้อมูลนาน ทำให้เสียค่าใช้
จ่ายสูง โดยปกติไม่ควรเกินครึ่งหน้ากระดาษ A4

ข้อควรระวัง
 ควรระวังการรับ Mail จากคนที่ไม่รู้จักซึ่งมักตั้งชื่อ Mail น่าสนใจ และจากคนที่ชื่อน่าสนใจเช่น 
จากคนที่รักคุณ  เพราะบางทีอาจเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือเป็นโปรแกรมทำลายเครื่องควบคุมระบบเครือข่ายได้

 จริยธรรมและมารยาทการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การการสนทนาผ่านเครือข่ายในบางครั้งผู้ร่วมสนทนาเป็นบุคคลที่มาจากทั่วโลก หรือจากบุคคลหลายระดับ 
และคำสนทนานั้นจะปรากฏ

ให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์  ผู้สนทนาจึงควรปฏิบัติดังนี้ 
 1.ไม่เขียนคำหยาบคาย
 2.ไม่ควรตำหนิ  ด่า กันระหว่างสนทนา และหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่เป็นอคติ หรือระบายความรู้สึกที่ไม่ดี
ต่อใครบางคน หรือ ไม่ควรนำเรื่องน่าอับอายของผู้อื่นมาสนทนาเขียนลงบนหัวข้อสนทนา
 3.ไม่ควรนำเรื่องส่วนตัวอันไม่พึงเปิดเผยมาสนทนากัน
 4.การร่วมกิจกรรม Web Board ควร Post หัวข้อที่น่าจะมีประโยชน์ไม่ใช่หัวข้อที่เสียเวลา 
ไร้ประโยชน์ เช่น "ใครคิดว่าชั้น ป.6 ก.ใครสวยที่สุด" แล้วก็ให้แสดงความคิดเห็น  หัวข้อควรมีประโยชน์เช่น "โรงเรียนของเรา 
ควรทำสวนหย่อมที่ข้างโรงเรียนใหม่หรือไม่"  เป็นต้น
 5.ข้อความที่ใช้ควรเป็นข้อความที่สุภาพ  และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นแม้จะไม่เห็นด้วย  ควรติพร้อมให้ข้อ
เสนอแนะ
ข้อควรระวัง
 1. อย่าเชื่อผู้สนทนาที่เราไม่รู้จัก
 2.อย่าบอกชื่อ  ที่อยู่  และหมายเลขโทรศัพท์จริง ของผู้ใช้ให้กับคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อน
   
 
                                            

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 7 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)


บทที่ 7 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)


สาระสำคัญ

          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้ว ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ความสำคัญและความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (E-mail = Electronic Mail) หรือเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการรับและส่งข้อมูลเหมือนกับการติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์ ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนข้อความลงในกระดาษ แล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือสำนักงานโดยใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้าง ขึ้นเพื่อใช้เฉพาะภาย ในบริษัทหรือสำนักงาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ได้

ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีที่อยู่ของตนเอง และรู้ที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสาร เมื่อต้องการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ เพื่อจะได้ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ชื่อ แอท โดเมนเนม และรหัส

•ชื่อหรือยูเซอร์เนม (User Name) คือ ชื่อของสมาชิกที่ใช้สมัครหรือลงทะเบียน อาจเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อบริษัท หรือชื่อสมมุติก็ได้
•แอท คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเอที่มีวงกลมล้อมรอบ @ ซึ่งมาจาก แอทซาย (at sing) ในภาษาอังกฤษ
• โดเมนเนม (Domain Name) คือ ที่อยู่หรือชื่อของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมัครเป็นสมาชิกไว้ เพื่ออ้างเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ
• รหัส คือ ข้อมูลบอกประเภทขององค์กรและประเทศของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น .com หมายถึง องค์การธุรกิจการค้า หรือ .co.th หมายถึง องค์การธุรกิจการค้าในประเทศไทย เป็นต้น

ข้อดีและข้อจำกัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

ข้อดีของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

• ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
•สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
• ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น
• ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น
• ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม • สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
• เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
• ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่ โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ ์
• มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยัง ไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด

 

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 6 เว็บบราวเซอร์โปรแกรม

บทที่ 6 เว็บบราวเซอร์โปรแกรม


           web browser หมายถึงอะไร web browser คืออะไร บราวเซอร์ คืออะไร?

 
หากสรุปจากคำอธิบายศัพท์คำนี้อย่างสั้นๆ ก็จะได้ว่า “บราวเซอร์” ย่อมาจากคำเต็มว่า “เว็บบราวเซอร์” ซึ่งหมายถึง แอพพลิเคชัน (ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้งานเฉพาะทาง) ที่ใช้สำหรับสืบค้น(browse) และแสดงหน้าเว็บ (webpage) ต่างๆ ที่อยู่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ต โดยบราวเซอร์ยอดนิยมจะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ Internet Explorer และ Firefox ซึ่งบราวเซอร์พวกนี้จะสามารถแสดงผลหน้าเว็บที่จัดทำออกมาในรูปแบบของมัลติมี เดีย (ข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ) ได้อย่างสมบูรณ์

   
เวลาถามว่า บราวเซอร์ คืออะไร? คำตอบส่วนใหญ่ก็จะตอบสั้นๆ ง่ายๆ ได้ว่า “โปรแกรมดูเว็บ” แค่นี้ก็จบแล้ว แต่อยากให้ลองชมคลิปข้างล่างนี้ว่า “What is a browser?” คำตอบที่ได้จะเป็นอะไรบ้าง? ต้องลองดูจากคลิปที่นำมาฝากกันแล้วล่ะครับ

   

หลายคนยังไม่เข้าใจ หรือรู้จักคำว่า Browser ทั้งๆ ที่อยู่ใกล้ตัว หรือใช้งานอยู่ทุกวัน บางคนยังคิดว่า มันคือ Google หรือ Search (เพราะคำว่า “ค้นหา” ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า สืบค้น(browse)) บ้างก็ไม่รู้จัก Chrome ทั้งๆ ที่เพิ่งยิงโฆษณาทางทีวีไปแล้วด้วยซ้ำ เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า บ่อยครั้งที่พวกเรามักจะคิดไปเองว่า เข้าใจเรื่องต่างๆ รอบตัวดีแล้ว แต่พอถูกถามถึงเรื่องใกล้ตัวส่วนใหญ่ก็จะอึ้งไปตามกัน ไม่รู้จะตอบอย่างไรดี

ความหมายของ Web Browser
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ 

ประโยชน์ของ Web Browser สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
- Internet Explorer
- Mozilla Firefox
- Google Chrome
- Safari

บทที่ 5 การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

       

บทที่ 5 การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การใช้งานอินเทอร์เน็ต จะใช้หลักการแบบผู้ขอใช้บริการ และผู้ให้บริการ หรือที่เรียกว่า แบบไคลแอนด์-เซิร์ฟเวอร์ หมายความว่า ผู้ที่เชื่อมต่อบนอินเทอร์เน็ต จะมีทั้งผู้ให้บริการที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ และผู้ขอใช้บริการที่เรียกว่า ไคลแอนต์ ตัวอย่างเช่น 
สมศักดิ์สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตของบริษัท สมศักดิ์มีพีซีต่อเข้าสู่เครือข่าย ทางบริษัทเปิดเครื่องหลักให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บนเครื่องหลักของบริษัท จะทำหน้าที่บริการอิเล็กทรอนิกส์เมล์ โดยมีตู้จดหมายอยู่ สมศักดิ์สามารถใช้พีซีที่ทำงานแบบไคลแอดต์ ไปเปิดตู้จดหมาย ที่ให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์เมล์เซิร์ฟเวอร์ได้ 


การบริการทุกอย่างจึงใช้หลักการที่มีสถานีผู้ให้บริการ และสถานีผู้ขอใช้บริการ ข้อดีคือ มีสถานีผู้ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตมากมาย และเชื่อมต่อถึงกัน มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างสถานีผู้ให้บริการกันอย่างอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ข้อมูลเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ เช่น การส่งจดหมายจะกระทำอย่างต่อเนื่อง และอัตโนมัติ อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก 




   
อินเตอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
   
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
   
ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC) โดเมนเนม (Domain Name) โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้ง่าย แต่การทำงานจริง ของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรส อย่างเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบ ที่จะทำการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่าโดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ www.hotmail.com/data.html www คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www hotmail คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่ data.html คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่

 

การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้ 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC 2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps) โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port) เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน 3. โทรศัพท์ เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.ซอฟต์แวร์ ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ
1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
4.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ

   
ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ 
1. เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้ 
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com
3. โฮมเพจ(Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้ 
4. โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
5. ภาษาHTML(Hyper TextMarkup Language)เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติ พื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น 
6. WYSIWYG(What-You-See-Is-What-You-Get)โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่ ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การ สร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น

   

บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
 2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
 3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
 4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น 
5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา 
6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

   

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่โยงใยกันทั่วโลกซึ่ง มีบริการในด้านต่าง ๆ มากมายไว้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ ระบบเครือข่ายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีอย่างหลากหลายดังนี้ ประโยชน์ด้านการอ่าน บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการที่ทำให้สามารถทำการอ่านหนังสือ วารสารและนิตยสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ เช่น ComSaveving เป็นต้น ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร็เน็ตนั้น มีบริการสามารถที่จะเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เราสามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน Wold Wide Web หรือ WWW เช่นเข้าไปค้นหาข้อมูล อาจเป็นข้อมูลภาพและเสียง ฯลฯ ๆ อีกมากมาย ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ นิยมสร้างเว็บไซต์ (Web Site) บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและบริการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลของบริษัท ประโยชน์ด้านการส่งคำอวยพร ในเทศการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ มีบริการส่งการ์ดอวยพร อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ การบริการฝากข้อความ บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้ คนที่รับข้อมูล ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร บนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากมุมต่าง ๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่มีบริการข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ประโยชน์ด้านการสำรองข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่าง ๆ (Software Download) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft, ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ ผู้ที่ต้องการดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อไปใช้งานก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเพื่อทำการศึกษาหาความรู้ที่ทันสมัย อยู่เสมอ ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด (Explore Libaries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งในระบบเครือข่ายมีห้องสมุดออนไลน่ต่าง ๆ ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ ๆ ที่มีในห้องสมุดต่าง ๆ ประโยชน์ด้านการผ่อนคลาย บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการเล่นเกม (Play Games) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการเกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมองซึ่งเกมออนไลน์ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น เกมเพื่อการศึกษา ฯลฯ เกมส์เหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมองของเด็กให้เร็วขึ้น และช่วยเสริมสร้างทักษะความคิดในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยหาผู้เล่น ประโยชน์ด้านการซื้อสินค้า บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ (Shopping) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งจะมีระบบการซื้อขายสินค้าผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปซื้อสินค้าในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นทำการเลือกรายการสินค้าที่มีไว้บริการแล้วทำการสั่งจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งจะทำให้การซื้อขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประโยชน์ด้านการความบันเทิง บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch TV. And Listen Music) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถดูโทรทัศน์ฟังวิทยุ หรือดูรายการถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange Message) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้ บริการอินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ ได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว ประโยชน์ด้านการการสนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการสนทนาออนไลน์ (Chat) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรวมทั้งบริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail จะได้รับความนิยมมากในขณะนี้ จะทำให้ผู้ที่ใช้บริการ Chat สามารถที่จะพูดคุยกันได้โดยตรง เหมาะ สำหรับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ประโยชน์ด้านการเรียนทางไกล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการเรียนทางไกลบนอินเทอร์เน็ต (Distance Learning) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ และต่างประเทศมีการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถทำการเรียนผ่านระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบออนไลน์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยเข้าเรียนตามวันและเวลาที่ทำการเรียนการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ การสอนภาษาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ประโยชน์ด้านค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์จำนวนมากที่ให้บริการค้นหาที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของบุคคล องค์การ บริษัทต่าง ๆ เพียงแค่ป้อนข้อมูลของ บุคคลที่เราต้องการค้นหา เช่น ชื่อและนามสกุล ชื่อเมือง ชื่อรัฐ และประเทศ ลงในช่องที่กรอกข้อมูลก็สามารถที่จะทำการค้นหาได้

 

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


บทที่ 4 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


      อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ตั้งแต่ 233 MHz เป็นต้นไป
2. หน่วยความจำ (RAM) ไม่น้อยกว่า 8 MB
3. ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) มีขนาดความจุ ตั้งแต่ 100 MB ขึ้นไป
4. ดิสก์ไดร์ฟ ( Disk Drive ) ขนาด 1.44 MB
5. ซีดีไดร์ฟ ( CD Drive ) และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ลำโพง ไมโครโฟน เป็นต้น

2. โมเด็ม ( Modem )
โมเด็ม ( Modem ) หรือ Modulator-Demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล ( Digital ) จากเครื่อง คอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก ( Analog ) เพื่อส่งไปตามเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งเรียกว่า Modulate และแปลงสัญญาณ ข้อมูลแบบอนาล็อก ( Analog ) ที่มาจากเครือข่ายโทรศัพท์กลับเป็นสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล ( Digital ) เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า Demodulate โมเด็มเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ในการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยโมเด็มได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูง ปัจจุบันมีความเร็วสูงถึง 56 Kbps ( Kilobit per second )

ประเภทของโมเด็ม (Modem) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. โมเด็มแยกตามลักษณะการใช้งาน
2. โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสาร และความเร็วในการรับส่งข้อมูล

โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem)
     โมเด็มติดตั้งภายในนั้น เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้กระแสไฟในการทำงานจากแผงวงจรหลัก (Mainboard) ของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก

โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External Modem)
     เป็นโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก มีลักษณะโดยส่วนใหญ่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบน ประกอบด้วยแผงวงจรโมเด็ม ซึ่งมีไฟแสดงสถานะของการรับส่งข้อมูล กระแสไฟฟ้าในการทำงาน ได้จากภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมต่อนั้น จะทำการเชื่อมต่ออนุกรมแบ RS-232C ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่จะทำการติดตั้งที่จะทำการติดตั้งโมเด็มแบบภายนอกจะต้องพอร์ตนี้อยู่ และในปัจจุบันได้มีการนำพอร์ตแบบ USB (Universal Serial Bus) มาใช้สำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์ในรุ่นใหม่ๆ โมเด็มติดตั้งภายนอกมีราคาที่สูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน มีไฟแสดงสถานะของการทำงาน และมีสวิชท์ที่ใช้สำหรับเปิด-ปิด

3. โปรแกรม web browser ........ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ( Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูข้อมูลต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลในเว็บเพจ ถือได้ว่าเป็นเอกสารข้อมูล ที่ถูกเขียนด้วยภาษา HTML ทำหน้าที่ในการแสดงผลของข้อมูลเอกสาร อ่านข้อมูลที่ เป็นภาพ 2 มิติ 3 มิติ แสดงภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลเสียงและวีดีโอได้ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ยังสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การจัดหมวดหมู่ข้อมูลของเว็บไซต์ การแสดงผลข้อมูลผ่านทาง เครื่องพิมพ์

ยี่ห้อของ Browser

 อินเตอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเร่อ (Internet Explorer หรือ เรียกย่อว่า IE)
  เน็ทส์เคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator)
  โมซิลลา ไฟร์ฟ็อกซ์ (Mozilla Firefox หรือเรียกย่อว่า Firefox หรือ Mozilla) 

     คุณสมบัติทั่วไปของ Browser
ไม่ว่าจะเป็นบราวเซอร์ยี่ห้อไหนก็จะมีคำสั่งที่ปรากฏหน้าจอคล้ายกัน แต่มีสีสันและและการออกแบบ ที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ความสัมพันธ์ที่มีต่อ Search Engine เป็นสิ่งที่ จำเป็น เพราะบางบราวเซอร์จะแถม Search Engine ไว้ให้ที่หน้าจอก็มี ถึงอย่างก็ตามบราวเซอร์ ก็สามารถเข้าถึงเว็บใดเว็บหนึ่งโดยตรงก็ได้โดยไม่ต้องรอให้เครื่องต่อเข้า Search Engine เสียก่อน

 4. โทรศัพท์ (Telephone) ........ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต้องใช้สายโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อการเชื่อมโยง สัญญาณจากแหล่งให้บริการอินเตอร์เน็ต
 5. ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เนต (Account) ........ คือ Account จากองค์กรหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet service Provider : ISP)
 6. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ........ ได้แก่ ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรแกรม Browser และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 

1.โมเด็ม (Modem) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Fax modem

 

2. การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

 

3. เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน

 

. เราเตอร์ (Router) เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

 


5. บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย

 

6. รีพีตเตอร์ (Repeater) รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่ ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical 7. สายสัญญาณ เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ

   

          - สาย Coax มีลักษณะเป็นสายกลม คล้ายสายโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย

 

          - สาย UTP (Unshied Twisted Pair) เป็นสายสำหรับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45 สามารถส่งสัญญาณได้ไกล ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น คือ CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่ ในการใช้งานสายนี้ สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ
   
8. ฮับ (HUB) เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น การ์ดมีความเร็ว 100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้ แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต