วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 9 การสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



บทที่ 9 การสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต




 

 การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นระบบขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆมากมายที่จะให้เราไปทำการ สืบค้นเพื่อนำมาใช้งาน ซึ่งข้อมูลนั้นได้มาจากการจัดทำด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ให้บริการผ่านจอคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จุดใดๆ ก็ได้ จากการใช้โปรแกรมอ่านเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ต หรือบราวเซอร์นั่นเอง สิ่งจำเป็นในการสืบค้นหาข้อมูล

 1. ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการค้น ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถติดต่อได้กับคนทั่วโลกอย่างไม่มีขอบ เขต สามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศต่าง ๆ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับก็มีอยู่มากมาย ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลจำเป็นต้องเรียนรู้การเลือกข้อมูล ให้ได้ตรงกับความต้องการ ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ให้ บริการข้อมูล นั่นก็คือ ทราบ Url หรือ Address ของผู้ให้บริการข้อมูลนั่นเอง 
 2. รู้จักวิธีการค้นข้อมูล 
 3. รู้จักวิธีการอ่านผลการสืบค้น หลัง จากที่ได้เริ่มต้นทำการพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา หรือ เลือกรายการหมวดหมู่เมนูการค้น ผู้ค้นข้อมูลจะต้องติดตามผลการค้นจนกว่าจะได้ข้อมูลครบตามที่ต้องการ สำหรับ ผู้ให้บริการค้นข้อมูลก็จะต้องอำนวยความสะดวก ทั้งการจัดทำหน้าจอสำหรับการ สืบค้น และการจัดลำดับหัวข้อเรื่องให้กับผู้ใช้บริการด้วย 
4. รู้จักวิธีการจัดเก็บผลการสืบค้น 
5. รู้วิธีการเผยแพร่การสืบค้น 

วิธีการสืบค้นข้อมูล สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้ 
1. การค้นหาข้อมูลโดยการใช้คำค้นหา วิธีนี้เหมาะกับการหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงเนื้อหา โดยการพิมพ์คำหรือข้อความที่ต้องการค้นส่งไปในช่องสำหรับค้นหา
2. การค้นหาข้อมูลจากรายการข้อมูลที่จัดทำเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว วิธีนี้เหมาะกับการค้นหาข้อมูลที่เป็นหมวดใหญ่ ๆ หรือการค้นหาแบบกว้าง ๆ ไม่เจา 

ประเภทการสืบค้นข้อมูล 

 เนื่องจากภายในอินเทอร์เน็ต มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีผู้ที่รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ ที่จะง่ายต่อการค้นหา ซึ่งเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่นี้ คือ เว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Engines) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

      Search Engines เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ (Robot) ในการค้นหา และรวบรวมข้อมูล ของเว็บไซต์ต่างๆ เว็บไซต์ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการค้นหา ข้อมูล แบบจำเพาะเจาะจง ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล โดยใช้เว็บประเภท โดยใช้เว็บไซต์ ซึ่งทำได้โดยคลิกเมาส์เลือกชื่อของหมวดหมู่เว็บที่น่าสนใจ จากนั้นชื่อเว็บที่ต้องการก็จะปรากฏขึ้น 
      Search Directories เป็นเว็บไซต์ที่ทำการค้นหาข้อมูล โดยมีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลที่เหมาะสมแต่ก็มีข้อจำกัด คือ ปริมาณข้อมูลอาจจะไม่ครอบคลุมทุกเว็บไซต์ เว็บไซต์ข้อมูลประเภทนี้เหมาะสม กับการค้นหาข้อมูลที่เป็นหมวดใหญ่ ๆ ลักษณะการค้นหาข้อมูลของ Search โดยทั่วไป Search Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ 

1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมาย ถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com, www.lycos.com, www.sanook.com, www.siamguru.com เป็นต้น ตัวอย่าง การค้นแบบนามานุกรม ของ www.sanook.com รายการกลุ่มเรื่องแบ่งออกเป็น หมวดหมู่ใหญ่ 14 หมวดหมู่ เช่น กีฬา ท่องเที่ยว อินเทอร์เน็ต ฯลฯ การแบ่งกลุ่มเรื่องย่อยๆ ของแต่ละกลุ่มและแบ่งย่อย ลงเรื่อยๆจนกระทั่งระบุ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง 

2. การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนี ค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ นามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การ ใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร ตัวอย่าง การค้นหาแบบดรรชนี โดยใช้คำสำคัญ 
1. ระบุคำ เรื่องที่ต้องการค้นในเว็บไซต์ที่เป็น search engine เช่น ดาวอังคาร 1. ระบุคำค้นลงในช่องสืบค้น 
2. จะปรากฏจำนวนรายการข้อมูลที่ค้นพบ และโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่ต้องการ 
3. แหล่งข้อมูลที่ค้นพบ 

3. การค้นหาแบบ Met search Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 8 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อสื่อสาร



บทที่ 8 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อสื่อสาร


           ความหมายและประโยชน์ของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 


          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ (Electronic Mail - Email)เป็นวิธีติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดาจนถึงการส่งเอกสารแบบมัลติมีเดียมีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า e-mail Address คล้ายๆ กับชื่อ – นามสกุล และที่อยู่นั่นเองปัจจุบันเราสามารถมีอีเมล์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว จากเว็บไซต์ที่ให้บริการรับ-ส่งอีเมล์ที่เรียกว่า ฟรีอีเมล์ (Free-Email) ซึ่งมีบริการให้เลือกมากมายทั้งไทยและต่างประเทศ

อีเมล์จึงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ ดังนี้ 

 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับอีเมล์ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกทันที
2. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์ จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง
3. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ทีละคน
4. ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา
5. ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก ซึ่งจะทำให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับ มีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่าน จดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน
6. สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสาร เป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
บริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป ให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูล
กันได้อย่างรวดเร็วคือ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ความหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
        E-mail ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ 
แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง

จุดเด่นของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
จุดเด่นที่ทำให้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งจดหมาย
ด้วยกระดาษธรรมดาหรือไปรษณีย์ธรรมดา ๆ แล้ว การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ดูเหมือนจะยุ่งยากและมีวิธีการใช้สลับ
ซับซ้อนกว่า แต่ถ้าหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ยุ่งยากแต่ประการใด โดยเฉพาะในปัจจุบัน 
โปรแกรมที่ใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างสะดวก ไม่ซับซ้อน และที่สำคัญ ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์มีจุดเด่นกว่าไปรษณีย์ธรรมดาหลายประการ ดังนี้ 
 1.ความรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้รวดเร็วมาก เช่น เราสามารถ
ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จากประเทศไทยไปยังผู้รับที่อยู่ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใน 1-5นาทีเท่านั้นเอง ถ้าส่งไปรษณีย์
ด่วน EMS อย่างเร็วที่สุดต้องใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยกับความเร็บของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
 2.ความประหยัด ค่าใช้จ่ายในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจดหมาย
ธรรมดา ปกติถ้าเราส่งจดหมายธรรมดาต้องซื้อซอง ซื้อกระดาษ ซื้อแสตมป์ ค่าลงทะเบียนจดหมายด่วน EMS ยิ่งถ้าส่งไป
ต่างประเทศก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และถ้าส่งเดือนละหลายฉบับ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
ค่าใช้จ่ายไม่แพง มีเพียงค่าโทรศัพท์และค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนที่เราใช้กันอยู่เท่า นั้น
 3.ไม่จำกัดระยะทาง ระยะทางเป็นข้อจำกัดสำคัญในการติดต่อสื่อสารกัน เราไม่ต้องเดินไปที่ที่ทำการไปรษณีย์
หรือตู้ไปรษณีย์เพื่อส่งจดหมาย เราสามารถนั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน พิมพ์และส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องเดิน
ทางไปไหนเลย

ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail Address) 
 ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของ
ตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน 
         ส่วนประกอบของที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ
 ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    antz2003_ja@hotmail.com
 1.ส่วนที่ 1 คือ ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อองค์กร หรือชื่ออะไรก็ได้ 
ตามตัวอย่างคือ Antz2003_ja 
 2.ส่วนที่ 2 คือ เครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า แอท
 3.ส่วนที่ 3 คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ 
เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุด ตามตัวอย่างคือ  hotmail.com

มารยาทในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
ปัญหา ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติ
 1.กรณี ที่อยู่บ้านและใช้โทรศัพท์ธรรมดา ไม่ควรใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะทำให้ขาดการติดต่อ
กันทางโทรศัพท์ซึ่งอาจมีเรื่องสำคัญ จำเป็น ก็ได้  และไม่ควรตั้งระบบโทรศัพท์เป็นระบบสายเรียกซ้อน  ซึ่งจะทำให้การติดต่อ
อินเตอร์เน็ตหลุดบ่อย ๆ
 2.การใช้งานบราวเซอร์โดยการเปิดวินโดว์ใหม่(New Windows) อาจทำให้ความเร็วในการติดต่อ
กับอินเทอร์เน็ตช้าลง หรือเครื่องแฮงค์ไปเลย
 3.การติดต่อไปยัง URL ใหม่ ควร Stop การติดต่อ URL เก่าเสียก่อน จะทำให้ความเร็วในการ
ติดต่อไม่ตก

จริยธรรมและมารยาทในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับการเขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์ นั่นคือเรา
ไม่สามารถแสดงสีหน้า ท่าทาง หรือความรู้สึกให้ผู้รับทราบได้ ดังนั้นผู้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงควรมีมารยาทที่ดีหรือข้อ
พึงปฏิบัติดังนี้ 
 1.เขียน ชื่อที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับให้ชัดเจน ก่อนจะส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องตรวจ
สอบชื่อและที่อยู่ของผู้รับ ให้แน่ใจ เพื่อจะได้ส่งไม่ผิดคน เพราะบางครั้งอาจเป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการนัด
หมายหรือการอวย พรเนื่องในวันเกิด หรืองานสำคัญอื่น ๆ ถ้าเราส่งผิด ไม่ถึงผู้รับ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
 2.อ่านข้อความให้ดีก่อนส่ง ต้องตรวจดูข้อความให้ละเอียดทุกข้อความว่า เขียนได้กระชับ รัดกุม 
ถ้อยคำเหมาะสมชัดเจน ไม่ควรสะกดคำผิด เขียนผิดไวยกรณ์ หรือเขียนเชิงภาษาพูด เพราะอาจทำให้คนรับอ่านแล้วเข้า
ใจเนื้อหาผิดไปได้
 3.ใส่หัวเรื่อง (Subject) ให้เรียบร้อยทุกครั้ง เพื่อให้ผู้รับทราบว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นๆ 
เขียนด้วยเรื่องอะไร เพื่อให้ผู้รับจะได้คัดเลือกอ่านตามความสำคัญ
 4.การตอบกลับ ปกติเราควรตอบกลับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกฉบับ เพื่อสื่สารกับผู้ส่ง และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
นานเกินไป ถ้าเราได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ควรอ่านและตอบกลับภายในเวลา 1-2 วัน แต่บางครั้ง ถ้ามีไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์มาก ๆ เราควรพิจารณาดูจากหัวเรื่องว่าฉบับไหนสำคัญมากหรือน้อย แล้วจัดตอมตามลำดับ แต่ถ้าเป็นเรื่อง
ธุรกิจการค้าขาย ควรตอบกับทันที ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งเป็นประโยชน์มากเท่านั้น
 5.ไม่ควรตอบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยาวเกินไป เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีค่าใช้จ่าย เพราะค่าบริ
การการใช้อินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง การเขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยาวๆ ต้องใช้เวลาในการเรียกข้อมูลนาน ทำให้เสียค่าใช้
จ่ายสูง โดยปกติไม่ควรเกินครึ่งหน้ากระดาษ A4

ข้อควรระวัง
 ควรระวังการรับ Mail จากคนที่ไม่รู้จักซึ่งมักตั้งชื่อ Mail น่าสนใจ และจากคนที่ชื่อน่าสนใจเช่น 
จากคนที่รักคุณ  เพราะบางทีอาจเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือเป็นโปรแกรมทำลายเครื่องควบคุมระบบเครือข่ายได้

 จริยธรรมและมารยาทการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การการสนทนาผ่านเครือข่ายในบางครั้งผู้ร่วมสนทนาเป็นบุคคลที่มาจากทั่วโลก หรือจากบุคคลหลายระดับ 
และคำสนทนานั้นจะปรากฏ

ให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์  ผู้สนทนาจึงควรปฏิบัติดังนี้ 
 1.ไม่เขียนคำหยาบคาย
 2.ไม่ควรตำหนิ  ด่า กันระหว่างสนทนา และหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่เป็นอคติ หรือระบายความรู้สึกที่ไม่ดี
ต่อใครบางคน หรือ ไม่ควรนำเรื่องน่าอับอายของผู้อื่นมาสนทนาเขียนลงบนหัวข้อสนทนา
 3.ไม่ควรนำเรื่องส่วนตัวอันไม่พึงเปิดเผยมาสนทนากัน
 4.การร่วมกิจกรรม Web Board ควร Post หัวข้อที่น่าจะมีประโยชน์ไม่ใช่หัวข้อที่เสียเวลา 
ไร้ประโยชน์ เช่น "ใครคิดว่าชั้น ป.6 ก.ใครสวยที่สุด" แล้วก็ให้แสดงความคิดเห็น  หัวข้อควรมีประโยชน์เช่น "โรงเรียนของเรา 
ควรทำสวนหย่อมที่ข้างโรงเรียนใหม่หรือไม่"  เป็นต้น
 5.ข้อความที่ใช้ควรเป็นข้อความที่สุภาพ  และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นแม้จะไม่เห็นด้วย  ควรติพร้อมให้ข้อ
เสนอแนะ
ข้อควรระวัง
 1. อย่าเชื่อผู้สนทนาที่เราไม่รู้จัก
 2.อย่าบอกชื่อ  ที่อยู่  และหมายเลขโทรศัพท์จริง ของผู้ใช้ให้กับคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อน
   
 
                                            

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 7 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)


บทที่ 7 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)


สาระสำคัญ

          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้ว ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ความสำคัญและความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (E-mail = Electronic Mail) หรือเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการรับและส่งข้อมูลเหมือนกับการติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์ ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทนการเขียนข้อความลงในกระดาษ แล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทหรือสำนักงานโดยใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้าง ขึ้นเพื่อใช้เฉพาะภาย ในบริษัทหรือสำนักงาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือไม่ก็ได้

ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการอย่างหนึ่งของระบบเครือข่ายซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นของตนเองด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีที่อยู่ของตนเอง และรู้ที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการติดต่อสื่อสาร เมื่อต้องการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ เพื่อจะได้ที่อยู่สำหรับติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ชื่อ แอท โดเมนเนม และรหัส

•ชื่อหรือยูเซอร์เนม (User Name) คือ ชื่อของสมาชิกที่ใช้สมัครหรือลงทะเบียน อาจเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อบริษัท หรือชื่อสมมุติก็ได้
•แอท คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเอที่มีวงกลมล้อมรอบ @ ซึ่งมาจาก แอทซาย (at sing) ในภาษาอังกฤษ
• โดเมนเนม (Domain Name) คือ ที่อยู่หรือชื่อของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมัครเป็นสมาชิกไว้ เพื่ออ้างเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ
• รหัส คือ ข้อมูลบอกประเภทขององค์กรและประเทศของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น .com หมายถึง องค์การธุรกิจการค้า หรือ .co.th หมายถึง องค์การธุรกิจการค้าในประเทศไทย เป็นต้น

ข้อดีและข้อจำกัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

ข้อดีของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

• ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
•สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
• ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น
• ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น
• ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม • สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
• เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
• ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่ โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ ์
• มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยัง ไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด